อาวุธเคมี ที่ถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

อาวุธเคมี


แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาอาวุธชนิดต่าง ๆ ออกมาหลากหลายรูปแบบ จนนำไปสู่การสร้างและพัฒนาอาวุธในยุคต่อมา แต่ก็มีอาวุธบางประเภทที่ถูกนำมาใช้งานในช่วงนั้น แทนที่จะเป็นการนำเอาการค้นพบทางวิทยาศาสตร์นี้ไปใช้ประโยชน์กับชีวิตมนุษย์ แต่กลับกลายมาเป็นอาวุธที่สังหารชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง แม้แต่ฝ่ายที่นำมาใช้เองก็ยังได้รับผลกระทบต่ออาวุธชนิดนี้เช่นกัน และสิ่งที่กำลังกล่าวถึงนั้นก็คือ อาวุธเคมี นั่นเอง มาดูกันว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีอาวุธเคมีใดบ้างที่ถูกนำมาใช้ต่อสู้ในสนามรบ 

4 อาวุธเคมี ที่ถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 

อาวุธเคมี


1.แก๊สน้ำตา (TEAR GAS)
แก๊สน้ำตาเป็นอาวุธเคมีรุ่นแรกที่ถูกนำออกจากคลังแสงและใช้จริงในสนามรบ โดยกองทัพฝรั่งเศสเป็นผู้ที่นำออกมาใช้เป็นชาติแรกในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1914 ซึ่งเป็นเดือนแรกที่สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น ทหารที่ได้สูดหายใจเข้าไปจะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุโพรงจมูก หลอดลมและปอด ทำให้ไอและจาม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อดวงตา และผิวหนังก็จะเกิดการระคายเคือง ถือเป็นอาวุธที่ไม่สามารถฆ่าคนตายได้ทันที แต่จะช่วยขับไล่ให้ทหารฝ่ายตรงข้ามออกจากสนามเพลาะหรือบังเกอร์ ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะนำมาใช้เป็นชาติแรก แต่เยอรมนีก็ได้ศึกษาและวิจัย รวมทั้งนำเอามาใช้ในสนามรบกันอย่างเต็มรูปแบบ 


2.คลอรีน (CHLORINE)
อีกหนึ่งอาวุธเคมีที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1915 กองทัพเยอรมันได้ลำเลียงคลอรีนกว่า 168 ตัน ซึ่งบรรจุอยู่ในถังจำนวนกว่า 5,730 ถัง สู่แนวหน้าที่เมืองอีพร์ ในช่วงเย็นของวันนั้นทหารเยอรมันได้เปิดท่อแก๊ส จากนั้นก็มีควันสีเขียวค่อย ๆ ลอยออกไปอย่างช้า ๆ บรรดาทหารอาณานิคมฝรั่งเศสที่สูดดมเข้าไปก็ได้รับผลกระทบทางด้านการมองเห็นและระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งกลไกของการหายใจทั้งหมดนั้นได้ถูกขัดขวาง ร่างกายจะเกิดสภาวะที่เรียกว่าแอสฟิซิเอชัน (ASPHYXIATION) คือภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างฉับพลัน เรียกว่าเป็นสงครามเคมีที่นานาชาติต่างรุมประณามการกระทำนี้ของเยอรมันที่ใช้อาวุธชนิดนี้ในการรบ 


3.มัสตาร์ด (MUSTARD)
นี่คืออาวุธเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยถูกพัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1822 และประสิทธิภาพของมันก็ถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถูกนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันได้ใช้อาวุธชนิดนี้โจมตีกองทหารอังกฤษและแคนาดา ณ เมืองอีพร์ในมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตกของประเทศเบลเยี่ยม ส่งผลให้ทหารบางคนตาบอด มีแผลพุพองสีแดงและสีม่วงเต็มไปทั่วร่างกาย จากนั้นมันจะค่อย ๆ ทำลายระบบทางเดินหายใจของผู้ที่ได้สัมผัส นอกจากนี้มัสตาร์ดยังเป็นแก๊สที่มีสารตกค้างในดินหรืออากาศเป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ไปจนถึงเดือนอีกด้วย นับว่าเป็นสงครามเคมีที่ได้รับความเสียหายอย่างมากเลยทีเดียว 


4.ฟอสจีน (PHOSGENE)
ถึงแม้ว่าฟอสจีนจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่ากับแก๊สมัสตาร์ด แต่ในบรรดาอาวุธเคมีที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟอสจีนมีอัตราส่วนถึง 85% ที่สามารถสังหารทหารในสนามรบได้ ดังเช่นการใช้งานฟอสจีนในแนวรบระหว่างออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ในการรบที่มอนต์เซนต์ มิเชล ฝ่ายออสเตรีย-ฮังการี เปิดฉากการโจมตีด้วยอาวุธเคมีที่ผสมผสานกันทั้งแก๊สคลอรีนและฟอสจีนต่อแนวรบของฝ่ายอิตาลี เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.1916 โดยสามารถสังหารอิตาลีได้ถึง 1,000 คน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง

ประเภทของ รถถัง ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1

สนามยิงปืน เลเซอร์สไตรค์ แหล่งยิงเลเซอร์สุดมันส์