MG 3 สุดยอดเทคโนโลยีของเยอรมัน

MG 3 ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 จากระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ทำให้ปืนตัวนี้สามารถยิงแบบต่อเนื่องได้ถึง 700-900 นัดต่อนาที

MG 3 อีกหนึ่งปืนกลอเนกประสงค์ที่ดีที่สุด

MG 3

MG3 ถือเป็นอีกหนึ่ง ปืนกล อเนกประสงค์ของเยอรมันที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง สงครามกลางเมืองไนจีเรีย หรือ สงครามอิหร่านกับอิรัก โดย อาวุธปืน ชนิดนี้ได้รับการพัฒนามาจากปืนในยุค สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างMG 42 เป็นปืนที่มีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศแบบถ่ายเทและมีการทำงานรูปแบบรีคอยล์อีกด้วย สำหรับในด้านการทำงานของเอ็มจี 3 ควรหลีกเลี่ยงการยิงแบบต่อเนื่อง เพราะว่าอาจจะทำให้ปืนระบายความร้อนไม่ทนจนเกิดการระเบิดได้ โดยผู้ใช้อาวุธชนิดนี้จะต้องลั่นไกไม่เกิน 3-5 รอบ หรือประมาณ 20-30 ต่อครั้ง และควรปรับระยะเล็งให้เหมาะสมกับการยิงด้วย ปกติแล้วถ้าหากนำไปใช้จริงในสนามรบทางพลทหารจะต้องคอยเปลี่ยนลำกล้องปืนทุก ๆ การยิง 100-150 รอบ โดยในช่วงระหว่างที่เปลี่ยนลำกล้องใหม่เสร็จสิ้นสามารถเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งที่ตั้งใหม่ได้ และควรระมัดระวังเวลาเปลี่ยนที่บรรจุกระสุนเนื่องจากความร้อนจากการใช้งานอาจจะทำให้เกิดประจุไฟจนเกิดระเบิดได้ ควรทิ้งไว้ให้เย็นก่อนแล้วจึงค่อยนำไปเก็บในที่ปลอดภัย

ความเป็นมาในช่วงสงครามโลกของMG 3 

MG 3

MG3 มีต้นแบบและปัจจัยหลาย ๆ อย่างมาจากMG 42 ที่ถูกผลิตขึ้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปืนรุ่นแรกเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1958 ที่ Rheinmetall โรงงานผลิตอาวุธแห่งสำคัญของเยอรมัน หลังจากนั้นไม่กี่ปีปืนตัวนี้ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลง ในส่วนของลำกล้องที่ทำขึ้นด้วยโครเมียมและเปลี่ยนจุดเล็งให้มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการใช้งานที่ง่ายจนกลายมาเป็นMG 1A1 ที่มีน้ำหนักของโบลต์อยู่ที่ 33.51 ออนซ์ ทำให้เวลาการยิ่งมีความเสถียรกว่าตัวก่อนแต่เสียเรื่องอัตราการยิงที่ช้ากว่า 700-900 นัดต่อนาที นอกจากนี้มีการติดตั้งบัฟเฟอร์วงแหวนที่มีความทนทานต่อแรงเสียดทานสูง ที่ช่วยป้องกันการกระเด็นของโบลต์และยังสามารถเข้าไปแก้ไขในการจุดระเบิดที่เป็นปัญหาอย่างมากในปืนMG 42 จนในปี 1979 ทาง กองทัพเยอรมัน ได้นำเทคโนโลยีชนิดใหม่เข้ามาพัฒนาอาวุธจนกลายมาเป็นเอ็มจี 3 ที่นำสองรุ่นก่อนมาเป็นโครงสร้าง และติดตั้งอุปกรณ์เสริมเข้าไปช่วยในการใช้งานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ข้อควรรู้ก่อนใช้งานปืนMG 3

MG3 มีรูปแบบการบรรจุกระสุนอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น การบรรจุแบบใส่บาร์เรลหรือการใช้สายพาน DM1 ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีข้อแตกต่างตรงที่บาร์เรลสามารถสลับเปลี่ยนปลอกกระสุนได้รวดเร็วกว่า แต่บรรจุจำนวน ลูกกระสุน ได้น้อยกว่าแบบสายพาน โดยส่วนใหญ่แล้วในสงครามมักจะนิยมใช้แบบสายพาน เนื่องจากสามารถบรรจุกระสุนได้มากอีกทั้งไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการขัดปลอกของกระสุน แต่ถ้าหากไม่ได้นำปืนไปใช้นการรบควรใช้ปลอกบาร์เรล เพราะว่ามีน้ำหนักที่เบากว่ามากเพียง 1.7 กก. นอกจากนี้เวลาที่ยิงออกไปแล้วกระสุนจะตกลงที่ด้านหน้าของปลอก ทำให้เวลาลั่นไกอยู่กระสุนจะไม่มีทางกระเด็นมาโดนผู้ใช้อย่างแน่นอน

FN F2000 อาวุธประจำกายของกองทัพเบลเยียม

รถที่แรงที่สุดในโลก 2022 อัปเดตล่าสุด