รถหุ้มเกราะ ยานพาหนะที่ใช้ได้หลากหลายสถานการณ์

รถหุ้มเกราะ กลายเป็นกองกำลังที่สำคัญต่อการสู้รบของทหารบก เนื่องจาก ยานพาหนะทางทหาร คันนี้สามารถขับเคลื่อนไปได้ทุกหนแห่งไม่ว่าจะภูมิประเทศจะย่ำแย่แค่ไหนก็ตาม

รถหุ้มเกราะอีกหนึ่งยานพาหนะทางทหารที่มีความสำคัญต่อการรบ

รถหุ้มเกราะ

รถหุ้มเกราะ ถือเป็นอีกหนึ่ง ยานพาหนะทางทหาร ที่มีความสำคัญอย่างมากในการขนส่งบุคลากรและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรบต่าง ๆ ไปยังเขตพื้นที่สู้รบ ถ้าหากย้อนกลับไปในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 หน่วย APC เป็นอีกหนึ่งกองกำลังสำคัญที่มักจะพบเห็นได้ทั่วไปในแถบทวีปยุโรป โดยจากสนธิสัญญาดั้งเดิมว่าด้วยกองกำลังติดอาวุธในยุโรป ที่ได้รับการออกแบบและติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งกองทหารราบ ตามกฎแล้วขนาดของลำกล้องปืนทุกชนิดจะต้องไม่เกิน 20 มม. ซึ่งต่างจาก ยานยนต์ทางทหาร อย่าง (IFV) ที่มีหน้าที่เหมือนกันกับ APC แต่ไม่ได้ถูกตั้งกฎข้อบังคับ เนื่องจากภายในสามารถบรรจุพลทหารได้น้อยกว่า และไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ในการออกสู่สนามรบ แม้รถทหารทั้งสองคันนี้จะมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่กลุ่มทหารทางบกก็มักจะเรียกรถทั้ง 2 ประเภทนี้ว่า ทหารราบยานเกราะ

3 อันดับ รถหุ้มเกราะ ที่ดีที่สุดในโลก

รถหุ้มเกราะ

อันดับที่ 1 AMV XP รถหุ้มเกราะสัญชาติฟินแลนด์ที่ในปัจจุบันได้กลายเป็นรถบรรทุกติดอาวุธที่ดีที่สุดในโลก ถูกพัฒนามาจาก Patria AMV XP ในปี 2013 โดย AMV มีน้ำหนักที่มากถึง 30 ตัน ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบชาร์จของ Scania DC13 ที่มีกำลังอัดสูงสุดอยู่ที่ 603 แรงม้า นอกจากนี้ยังมีการออกแบบให้ตัวรถสามารถขับเคลื่อนในน้ำได้ด้วยระบบวอเตอร์เจ็ทสองตัว สำหรับระบบอาวุธต่าง ๆ APC มีครบแบบจัดเต็ม ไม่ว่าจะเป็นป้อมปืนขนาด 12.7 มม. ที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนรถ ปืนใหญ่ขนาด 30 มม. ปืนกลแกนร่วม 7.62 มม. รอบคันและจรวดนำวิถีอีก 2 กระบอก

รถหุ้มเกราะ

อันดับที่ 2 Piranha V ถือเป็นรถหุ้มเกราะรุ่นล่าสุดของกองทัพสวิตเซอร์แลนด์ที่มีระบบป้องกันตัวเองอย่างดีเยี่ยม จากการติดตั้งเกราะเหล็กที่เชื่อมต่อกันทั้งคันหุ้มด้วยเกราะหนาแบบโมดูลาร์ ซึ่งประสิทธิภาพของมันสามารถทนทานต่อกระสุนเจาะเกราะขนาด 25 มม. ได้ นอกจากนี้ในจุดสำคัญต่าง ๆ ของตัวรถถูกป้องกันด้วย IED ที่สามารถต้านทานแรงระเบิดจากทุ่นระเบิดหรือกับระเบิดได้ ในส่วนของเครื่องยนต์ Piranha V กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาจาก 580 แรงม้าขึ้นไปอีก ทำให้มีความคล่องตัวในการขับเคลื่อนไปยังสถานการณ์ต่าง ๆ สำหรับอาวุธมีการติดตั้งปืนกลหนัก 12.7 มม. และเครื่องยิงระเบิดอัตโนมัติ 40 มม.

อันดับที่ 3 LAV 6.0 ถูกพัฒนามาจาก LAV III Kodiak ของ กองทัพแคนาดา โดยหลัก ๆ ที่เพิ่มคือการติดตั้งถังรูปตัว V ที่ช่วยในการป้องกันแรงระเบิดจากกับดักต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ภายนอกยังเสริมด้วยชุดเกราะเซรามิกที่ทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญมันสามารถป้องกันกระสุนเจาะเกราะ 14.5 มม. หรือปืนใหญ่ขนาด 30 มม. ได้ ซึ่งตัวรถขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์ดีเซล Caterpillar กำลังอัดอยู่ที่ 450 แรงม้า แม้จะมีแรงของเครื่องยนต์ไม่เท่ารุ่นก่อนหน้า แต่ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าเพียง 25 ตันทำให้มีความคล่องตัวกว่ามาก สำหรับอาวุธประจำตำแหน่งมีป้อมปืน M242 Bushmaster 25 มม. 2 ป้อมอยู่บนตัวรถ นอกจากนี้มีการติดตั้งปืนกลหนักขนาด 7.62 มม. และ 5.56 มม. ไว้รอบ ๆ คันอีกด้วย

รถหุ้มเกราะกับกฎอันเคร่งครัดในสนามรบ

นอกจากรถหุ้มเกราะ APC จะใช้ในการขนส่ง ทหารราบ หรือใช้ในการเข้าร่วมรบทางทหารแล้ว บางกองทัพอาจจะนำมาเป็นรถพยาบาลหุ้มเกราะที่ใช้ในการขนถ่ายผู้บาดเจ็บออกจากสนามรถ ด้วยความแข็งแรงและทนทานต่อกระสุนเจาะเกราะหรือระเบิดต่าง ๆ ทำให้หลายกองทัพนิยมนำ ยานเกราะ มาประจำการสถานพยาบาล 1-2 คัน ซึ่งตามกฎของการทำการรบอนุสัญญาเจนีวาได้ระบุไว้ว่าถ้าหากเห็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์เข้าไปยังสนามรบ ห้ามทำการโจมตีโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม เพราะถือเป็นเรื่องที่ควรได้รับการคุ้มครองจากทั้งสองฝ่าย

มาทำความรู้จักกับ PANTHER KF51

เผย 5 รถที่หายากที่สุดในโลก อัปเดตล่าสุด 2022